หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท (ฉบับเข้าใจง่ายๆ)
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นนโยบายรัฐบาลต้องการให้คนไทยมีหลักประกัน หรือมีความมั่นใจว่าเมื่อเจ็บป่วยไม่สบาย ก็สามารถไปหาหมอเพื่อขอคำแนะนำรับบริการตรวจรักษา หรือแม้แต่รับยาเพื่อเยียวยารักษาโรค โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องค่ารักษาพยาบาล จนทำให้ขาดโอกาสรักษาตัว ทั้งนี้รัฐบาลจะเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลแทให้ตามวิธีกาารที่จะได้กำหนด นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่จะให้แต่ละคนตามความจำเป็นทุกคนที่เข้ารับบริการดูแลสุขภาพ รวมทั้งการรักษาพยาบาล จะเสียค่าธรรมเนียม 30 บาท ต่อครั้ง ไม่ว่าจะนอนหรือไม่นอนโรงพยาบาลก็ตามดดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเพิ่มเติมอีก
ใครบ้าง?มีสิทธิใช้บริการบัตรทอง
-ทุกคน ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในพื้นที่อำเภอเมืองอุทัยธานี ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด-ชราภาพ ยกเว้น -ข้าราชการและลูกจ้างประจำของรัฐ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งคนในครอบครัวที่มีสิทธิ
-ลูกจ้างที่มีประกันสังคม
-ผู้มีบัตรประกันสุขภาพ ผู้มีบัตรสวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล(ส.ป.ร.) ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล(เด็กอายุ 0-12ปี นักเรียนมัธยมต้น ผู้สูงอายุ พระ ผู้นำศาสนา ทหารผ่านศึก ผู้นำชุมชน) ยังคงมีสิทธิการรักษาพยาบาลเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่จะต้องมาทำบัตรทอง โดยมีเครื่องหมายพิเศษติดอยู่ที่บัตร เพื่อให้ทราบว่าไม่ต้องจ่ายเงิน 30 บาท เมื่อมารักษาพยาบาล
จ่าย 30 บาท ได้บริการอะไรบ้าง
ได้รับบริการที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน เช่น
1. ตรวจรักษาทุกโรค ยารักษาโรคต่างๆ
2. ผ่าตัดทุกโรค ทำคลอด ทำหมัน ฉีดวัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคทั่วไป
3. อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม ยกเว้นอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ที่สาธารณสุขกำหนด
4. รักษาโรคต่างๆขูดหินปูน เคลือบฟลูออไรด์ ทำฟันปลอมที่ใช้อะไครลิกเป็นฐาน ที่ทันตแพทย์เห็นว่าจำเป็นเพื่อการโภชนาการ
5. ค่าห้อง และค่าอาหาร ประเภทผู้ป่วยสามัญ
เกิดอุบัติเหตุหรือป่วยฉุกเฉิน ทำอย่างไร
คุณสามารถไปรักษาที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทุกแห่งและสถานพยาบาลอื่นที่เข้าร่วมโครงการ
ไปหาหมอได้ที่ไหน?
ชื่อโรงพยาบาลที่คุณไปหาหมอได้ประจำจะเขียนไว้ใน “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ของคุณ ยกเว้นกรณีที่หมอเห็นว่าควรไปรักษาที่อื่น จะมีหนังสือส่งตัวจากสถานพยาบาลของคุณ
บริการทางการแพทย์ที่ต้องจ่ายเอง
- การผ่าตัดเสริมสวย
- การตกแต่งฟันเพื่อความสวยงาม
- แว่นตา ยกเว้น เด็กนักเรียนประถมศึกษา อาจได้รับตามโครงการเดิม
- อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ
- การรักษาภาวะมีบุตรยาก
- การผสมเทียม
- การเปลี่ยนเพศ
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลองที่ไม่ใช่แนวทางการป้องกันและรักษาที่ถือปฏิบัติกันเป็นแบบแผน
- วัคซีนป้องกันโรคที่ยังไม่ได้จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็น
- การฟอกเลือด ล้างไต ด้วยเครื่องไตเทียม ยกเว้น กรณีไตวายเฉียบพลันแต่ไม่เกิน 60 วัน
- การรักษาโรคเอดส์ ด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ยกเว้น กรณีติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อน
- การตรวจเช็คร่างกายใดๆที่เกินความจำเป็นจากแนวทางป้องกันและรักษาโรคนั้น
- การบริการระหว่างการพักฟื้น เช่นแพทย์เห็นว่าสิ้นสุดการรักษาแล้วให้กลับบ้านได้ แต่ที่บ้านไม่มีคนดูแล ต้องการอยู่รักษาต่อ
- ค่าห้อง และค่าอาหารพิเศษ ค่าบริการพิเศษอื่นๆที่ขอรับบริการเพื่อความสะดวกสบาย
- การไปรักษากับแพทย์เฉพาะทางโดยไม่ผ่านการส่งตัวจากสถานพยาบาลประจำครอบครัวของตนเอง
วิธีใช้บริการ
ให้นำทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชนไปขึ้นทะเบียนรักษาทุกโรคของโรงพยาบาลที่ออกสำรวจ หรือติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 511081,524455
ที่มา http://www.geocities.com/uthaithanee_hosp/uc.html
นางสาววิกาญจน์ดา กุสะโร เลขประจำตัว 51121360
สาขา วิชาการพัฒนาชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น